เมื่อวันพฤหัสบดีที่
23 มกราคม 2568 เวลา 9.00 น. ณ ห้องประชุม รศ. ดร. ปัทมาวดี เล่ห์มงคล อาคาร 4
ชั้น 3 คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ผศ. ดร.ศุภพัชร์พิมล สิมลี
ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์ ผู้แทน ดร.จงรัก วัชรินทร์รัตน์
อธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีเปิดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ
“Prepare
Teachers to Innovate with Digital Technologies” หรือโครงการเตรียมความพร้อมครูผู้สอนเพื่อการสร้างสรรค์นวัตกรรมด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล
ซึ่งจัดขึ้นเพื่อพัฒนาศักยภาพอาจารย์ในระดับอุดมศึกษาในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรมด้านการเรียนการสอน
..
โครงการนี้จัดขึ้นโดยความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช โดยได้รับการสนับสนุนจาก SEAMEO
INNOTECH และ UNESCO Regional Office in Bangkok ระหว่างวันที่ 22 – 24 มกราคม 2568 ซึ่งในวันที่ 23 มกราคม 2568
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้รับเกียรติเป็นเจ้าภาพจัดโครงการ
มีผู้บริหารและคณาจารย์จากหน่วยงานต่างๆ เข้าร่วม อาทิ ผศ. ดร.อุดมลักษม์
กูลศรีโรจน์ คณบดีคณะศึกษาศาสตร์ Mr. Nyi Nyi Thaung, UNESCO Bangkok
Programme Specialist; Mr Juan Robertino Macalde, SEAMEO INNOTECH specialist คณาจารย์จาก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช และ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
พร้อมด้วยบุคลากรคณะศึกษาศาสตร์ และกองวิเทศสัมพันธ์
..
กิจกรรมเริ่มต้นด้วยการลงทะเบียนผู้เข้าร่วมกว่า
70 คน ตามด้วยการกล่าวรายงานและวัตถุประสงค์โครงการโดย รศ. ดร.พงศ์ประพันธ์
พงษ์โสภณ หัวหน้าโครงการฯ คณะศึกษาศาสตร์
จากนั้นเป็นการกล่าวต้อนรับและเปิดโครงการโดย ผศ. ดร.ศุภพัชร์พิมล สิมลี
ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์ กล่าวถึงความสำคัญของการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาประยุกต์ใช้ในกระบวนการเรียนการสอนและการวิจัย
และการเรียนรู้ของผู้เรียน
พร้อมแสดงความคาดหวังว่าโครงการนี้จะช่วยเสริมสร้างศักยภาพครูผู้สอนให้ก้าวทันการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษาในยุคดิจิทัล
ช่วงเช้าการนำเสนอผลการวิจัยประสบการณ์และความท้าทายของครูในการบูรณาการปัญญาประดิษฐ์สำหรับการจัดการเรียนรู้และการประเมินผล
โดย รศ. ดร.พงศ์ประพันธ์ พงษ์โสภณ และคณะผู้วิจัย
การนำเสนอแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในหัวข้อ “AI-Driven Educational
Innovations” ช่วงที่ 1 Explore the transformative
potential of AI with interactive, hands-on sessions: Biodiversity Through the
Lens of Machine Learning โดย รศ. ดร.พงศ์ประพันธ์ พงษ์โสภณ Crafting Brand Stories with Generative
AI โดย อ. ดร. สุกานดา จงเสริมตระกูล ช่วงบ่ายเป็นการนำเสนอแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในหัวข้อ
“AI-Driven Educational Innovations” ช่วงที่ 2 Continue
the hands-on exploration with more cutting-edge applications of AI: Interactive
Chatbots for Assessment โดย อ. ดร. วรัญญู ฉายาบรรณ์ AI as
a Learning Designer โดย รศ. ดร.ชาตรี ฝ่ายคำตา รองคณบดีฝ่ายวิจัยและสร้างสรรค์
ปิดท้ายด้วยการสะท้อนความคิดและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ร่วมกัน และพิธีปิด
..
โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ
“Prepare
Teachers to Innovate with Digital Technologies” สะท้อนถึงความร่วมมือที่สำคัญระหว่างมหาวิทยาลัยและองค์กรระหว่างประเทศในการพัฒนาศักยภาพครูผู้สอนให้สามารถใช้เทคโนโลยีดิจิทัลสร้างสรรค์นวัตกรรมด้านการศึกษา
ซึ่งเป็นก้าวสำคัญสู่การเรียนการสอนแห่งอนาคต