The spirit of development toward the global society

แนวทางการเข้าร่วมโครงการแลกเปลี่ยนนิสิตกับมหาวิทยาลัยคู่สัญญาในต่างประเทศ



ขั้นตอนการเตรียมตัวเป็นนิสิตแลกเปลี่ยนมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

 

1.  นิสิตต้องศึกษาในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์มาไม่ต่ำกว่า 1 ปี และยังคงมีสถานภาพนิสิตตลอดช่วงระยะเวลาที่เข้าร่วมโครงการแลกเปลี่ยนในต่างประเทศ

 

2.  นิสิตควรเป็นผู้ที่มีผลการเรียนดี (GPA ไม่ต่ำกว่า 2.8)

 

3.  นิสิตต้องเตรียมผลคะแนนทางภาษาตามที่มหาวิทยาลัยคู่สัญญากำหนด

 

- ผลการทดสอบความรู้ภาษาอังกฤษ เช่น TOEFL IBT / PBT, IELTS

- ผลการทดสอบความรู้ภาษาต่างประเทศอื่น ๆ ตามที่มหาวิทยาลัยที่เป็น Host University กำหนด เช่น DELF, HSK, JLPT , RUSSIAN เป็นต้น
 
4.  นิสิตที่ต้องการเข้าร่วมโครงการแลกเปลี่ยนควรพิจารณาถึงความพร้อมในด้านการเงิน ความสนใจส่วนตัว รวมทั้งต้องกำหนดเป้าหมาย และความต้องการของนิสิต เช่น สาขาวิชาที่ต้องการศึกษาแลกเปลี่ยน ประเทศหรือมหาวิทยาลัยที่นิสิตสนใจ และประสบการณ์ที่คาดว่าจะได้รับจากการเข้าร่วมโครงการ (ทั้งนี้ ควรวางแผนไม่น้อยกว่า 6 เดือนก่อนการสมัคร) รวมทั้งขอรับคำปรึกษา คำแนะนำจากผู้เกี่ยวข้อง ได้แก่

     - ฝ่ายวิเทศสัมพันธ์ของคณะ เพื่อหารือความเป็นไปได้ในการแลกเปลี่ยนต่างประเทศ รวมถึงตรวจสอบเงื่อนไขที่ระบุในการจัดทำบันทึกความร่วมมือทางวิชาการระหว่างมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์กับสถาบันที่จะเดินทางไป

    - อาจารย์ที่ปรึกษา เพื่อขอรับคำแนะนำเชิงวิชาการ การวางแผนการศึกษา รายวิชาที่ใช้เทียบโอนหน่วยกิต แนวทางการเลือกสถาบันการศึกษา Connectionอาจารย์ชาวชาติ ตลอดจนแหล่งทุน เป็นต้น


5. ในกรณีที่ตัดสินใจได้แล้ว นิสิตควรติดต่อกองวิเทศสัมพันธ์เพื่อขอรับคำปรึกษาเพื่อวางแผนการสมัคร รวมทั้งรับทราบรายละเอียดการรับสมัครของแต่ละโครงการ ซึ่งจะมีความแตกต่างกันไปตามภูมิภาค  เช่น เอเชีย ยุโรป  อเมริกา เป็นต้น  

6. นิสิตควรต้องติดตามการประชาสัมพันธ์การรับสมัครของโครงการแลกเปลี่ยนจากกองวิเทศสัมพันธ์อย่างใกล้ชิด เพื่อจะได้ไม่พลาดการสมัครเข้าร่วมโครงการที่สนใจหรือวางแผนไว้ที่จะสมัคร

7. นิสิตที่มีเป้าหมายที่ชัดเจนแล้วควรจัดทำ STUDY PLAN (แผนการศึกษาในต่างประเทศ) ควบคู่ไปการแนะนำของอาจารย์ที่ปรึกษาและคณะต้นสังกัด  

8. การจัดส่งใบสมัครพร้อมเอกสารประกอบ จะต้องดำเนินการผ่านคณะต้นสังกัดเท่านั้น กองวิเทศสัมพันธ์จะไม่รับพิจารณาใบสมัครที่นิสิตมายื่นด้วยตนเอง  เมื่อคณะรับรองใบสมัครและข้อมูลการสมัครแล้ว คณะ จะส่งใบสมัครมายังกองวิเทศสัมพันธ์ต่อไป

 


การเตรียมตัวของนิสิตเมื่อผ่านการคัดเลือก

 

- นิสิตที่ได้รับการเสนอชื่อไปยังมหาวิทยาลัยในต่างประเทศ (Host University) มหาวิทยาลัยนั้น ๆ จะดำเนินการพิจารณาใบสมัครและพิจารณาในการรับนิสิตเข้าศึกษา หากนิสิตได้รับการตอบรับจาก Host University กองวิเทศสัมพันธ์จะดำเนินการแจ้งผลให้ทราบในทันที

- นิสิตต้องยื่นเรื่องขออนุมัติเดินทางไปต่างประเทศผ่านระบบออนไลน์ไที่ เว็บไซด์ของกองวิเทศสัมพันธ์ ก่อนการเดินทางอย่างน้อย 15 วันทำการ โดยจะต้องได้รับอนุมัติให้เดินทางไปต่างประเทศจากมหาวิทยาลัยก่อน 

 


ค่าใช้จ่ายสำหรับการเข้าร่วมโครงการแลกเปลี่ยนในต่างประเทศ


ค่าใช้จ่ายในการไปแลกเปลี่ยน   จะแบ่งเป็น 2 ส่วนคือ

 ส่วนแรก -  ค่าใช้จ่ายก่อนไปแลกเปลี่ยน เช่น ค่าเดินทางระหว่างประเทศ ค่าตรวจร่างกาย ค่าทำประกันสุขภาพ+อุบัติเหตุ  ค่าหนังสือเดินทาง ค่า Visa 

ส่วนที่สอง - ค่าใช้จ่ายในต่างประเทศ เช่น ค่าอาหาร ค่าที่พัก ค่าเดินทาง ค่าหนังสือ ค่าสันทนาการ และค่าใช้จ่ายส่วนตัวอื่น ๆ ทั้งนี้ โดยทั่วไปนิสิตที่เข้าร่วมโครงการฯ ในระยะเวลา 1 ภาคการศึกษา ควรเตรียมค่าใช้จ่ายในการครองชีพอยู่ต่างประเทศ เฉลี่ยประมาณ 100,000 – 200,000 บาท และสำหรับ 2 ภาคการศึกษา (1 ปีการศึกษา) เฉลี่ยประมาณ 200,000 – 400,000  บาท ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับประเทศและภูมิภาคปลายทางด้วย