เมื่อวันจันทร์ที่ 2
ธันวาคม 2567 เวลา 10.00 น. ณ ห้องประชุม 9 ชั้น 2 อาคารสารนิเทศ 50 ปี
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน รศ. ดร. อภิสิฏฐ์ ศงสะเสน รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการและการเรียนรู้ตลอดชีวิต
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และรักษาการแทนคณบดีคณะวิทยาศาสตร์ ในนามของ ดร. จงรัก
วัชรินทร์รัตน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ให้เกียรติเป็นประธานการต้อนรับและร่วมลงนามบันทึกความเข้าใจ (MoU) ระหว่างมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และ Mekong Institute (MI) พร้อมคณะผู้บริหารและคณาจารย์ อาทิ ศ. ดร. ดอกรัก มารอด รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและความเป็นสากล
รศ. ดร. ครศร ศรีกุลนาถ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิจัยและความเป็นสากลและประธานคณะกรรมการดำเนินงาน
หน่วยวิจัยด้านจีโนมิกส์และทรัพยากรชีวภาพสัตว์ รศ. ดร. อรชส นภสินธุวงศ์ รองหัวหน้าภาควิชาฝ่ายวิเทศสัมพันธ์
คณะเศรษฐศาสตร์ ภาควิชาเศรษฐศาสตร์เกษตรและทรัพยากร นางสาวปรารถนา ถิรเกียรติคุณ
หัวหน้างานความร่วมมือและเครือข่ายระหว่างประเทศ และบุคลากรกองวิเทศสัมพันธ์ เข้าร่วมเพื่อเป็นสักขีพยานและให้การต้อนรับคณะผู้บริหารจาก
Mekong Institute (MI) ประกอบด้วย คุณสุริยัน วิจิตรเลขการ
ผู้อำนวยการบริหารสถาบันความร่วมมือเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจลุ่มน้ำโขง และคุณพรวิไล
ภูมิรา External Relations and Protocol Manager, Mekong Institute ในโอกาสเยือนมก. เพื่อลงนามลงนามบันทึกความเข้าใจ (MoU) ระหว่างมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และ
Mekong Institute (MI)
..
ด้วยคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ร่วมกับ สถาบันความร่วมมือเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจลุ่มน้ำโขง (Mekong
Institute : MI) มีความประสงค์ที่จะลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ Memorandum
of Understanding (MoU) เพื่อสนับสนุนกิจกรรมความร่วมมือทางการศึกษาและการวิจัยทางวิชาการ
รวมทั้งกิจกรรมอื่นๆ อาทิ เพื่อร่วมมือกันในการพัฒนาศักยภาพทางด้านการวิจัย
การแลกเปลี่ยนบุคลากรและการแลกเปลี่ยนข้อมูล เครือข่าย ฐานข้อมูล
และข้อมูลทางเทคนิค เพื่อเสริมสร้างความสามารถด้านการวิจัยและนวตกรรม
รวมถึงการจัดกิจกรรมฝึกอบรม การประชุม
การสัมมนาและการประชุมเชิงปฎิบัติการร่วมกันเพื่อพัฒนาประสบการณ์ทางวิชาชีพให้กับนักศึกษา
รวมทั้งกิจกรรมอื่นๆ
วัตถุประสงค์ของความร่วมมือ
(Purpose
of Cooperation) ในครั้งนี้ คือ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (KU)
และ Mekong
Institute (MI) มีเป้าหมายร่วมกันในการส่งเสริมความร่วมมือทางวิชาการและการพัฒนาที่
ยั่งยืนในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (Greater Mekong Subregion - GMS) ผ่านโครงการความร่วมมือต่าง ๆ ที่เน้นการพัฒนาศักยภาพบุคลากร
การสร้างเครือข่าย และการดำเนินกิจกรรมการพัฒนาทรัพยากร มนุษย์ หลังจากพิธีลงนามเสร็จสิ้นแล้ว
ที่ประชุมได้ร่วมกันหารือความร่วมมือร่วมกัน และได้มุ่งหวังว่าการลงนาม MoU
ครั้งนี้จะนำไปสู่การพัฒนาความร่วมมืออย่างเป็นรูปธรรมระหว่างสองฝ่าย
โดยทั้ง KU และ MI จะพัฒนาแผนงานเฉพาะกิจตามที่ได้ตกลงร่วมกัน
เพื่อบรรลุเป้าหมายความร่วมมือดังกล่าว
..
หลังจาก รศ. ดร. อภิสิฏฐ์
ศงสะเสน รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการและการเรียนรู้ตลอดชีวิต
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และรักษาการแทนคณบดีคณะวิทยาศาสตร์ ได้กล่าวต้อนรับในพิธีการลงนามบันทึกความเข้าใจ
(MoU)
ระหว่างมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และ Mekong Institute (MI) คุณสุริยัน วิจิตรเลขการ
ผู้อำนวยการบริหารสถาบันความร่วมมือเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจลุ่มน้ำโขง ได้กล่าวขอบคุณและยินดีในโอกาสการทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่างทั้งสองสถาบันในครั้งนี้
และหารือร่วมกันว่า การลงนามบันทึกความร่วมมือครั้งนี้ เพื่อเป็นการสนับสนุนและส่งเสริมความร่วมมือในด้านงานวิจัยเพื่อให้เกิดการผลักดันและพัฒนาต่อเนื่องต่อไป
การนำผลวิจัยและองค์ความรู้มาผลักดันนโยบาย ซึ่งที่ผ่านมา Mekong Institute
(MI) มีความร่วมมือกับ มก. ในการฝึกอบรมพัฒนาในด้านต่างๆ
มาอย่างต่อเนื่องโดยตลอด และการร่วมมือระหว่างกันครั้งนี้จะเป็นการนำเอาองค์ความรู้ต่างๆไปพัฒนาอย่างเป็นทางการต่อไป
รวมทั้งต้องการผลักดันให้เกิดขึ้นในระยะเวลา 1 ปีข้างหน้า ใน 3 เรื่องหลัก ได้แก่
1) สนับสนุนแผนยุทธศาสตร์อาเซียน – GMS เรื่อง Agri-Food
2) การจัดทำโครงการเกี่ยวข้องกับการเกษตร และ Nature-based
solutions 3) การจัดทำเครือข่ายงานวิจัยกับสถาบันการศึกษาอื่นๆ ด้วย
ทั้งนี้ ผู้บริหาร มก. ได้แจ้งให้ที่ประชุมทราบว่าทั้ง 3 ประเด็นตรงกับที่ทาง มก. ดำเนินการอยู่แล้ว
รวมทั้งมีเครือข่ายที่แน่นหนาอยู่แล้วเช่นกัน อย่างไรก็ตามมก. จะได้ผลักดันให้เกิดงานวิจัยดำเนินการให้เพิ่มขึ้น
และยินดีสร้างเครือข่ายกับ MI ในวาระและประเด็นต่างๆมากขึ้น ซึ่งการลงนามบันทึกความเข้าใจ
(MoU) ระหว่างมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และ Mekong
Institute (MI) จะเป็นการนับหนึ่งในความร่วมมือที่เป็นทางการ MoU
จะเป็นส่วนที่ทำให้เดินไปข้างหน้าในกรอบของงานวิจัย โครงการต่างๆ
แหล่งเงินทุน การฝึกงาน และแนวปฏิบัติต่างๆ ในอนาคต
รวมทั้งการสร้างคณะทำงานขึ้นมาทำงานร่วมกัน
..
สถาบันความร่วมมือเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจลุ่มน้ำโขง
(Mekong
Institute : MI) มีภารกิจ
ด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และเสริมสร้างศักยภาพในการเร่งพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมอย่างยั่งยืนและการขจัดความยากจนให้แก่ประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง
รวมทั้งส่งเสริมความร่วมมือและการรวมตัวระหว่างประเทศในระดับภูมิภาค (MI
Charter 2003) เริ่มดำเนินกิจกรรมต่างๆ ตั้งแต่ปี 2539 เป็นต้นมา โดยรัฐบาลประเทศนิวซีแลนด์ ได้สนับสนุนการดำเนินงานของสถาบันฯ
ในลักษณะของโครงการให้ความช่วยเหลือในการพัฒนาประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง (GMS)
เป็นองค์กรอิสระที่มุ่งเน้นการมีส่วนร่วมของรัฐบาลประเทศต่าง ๆ
ของภูมิภาค โดยมีสำนักงานตั้งอยู่ในมหาวิทยาลัยขอนแก่น
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย
..
ในปี 2546 รัฐบาลของกลุ่มประเทศอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง (GMS) 6
ประเทศ ได้แก่ กัมพูชา ลาว พม่า ไทย เวียดนาม และมณฑลยูนนานของจีน
ได้ลงนามรับรองตามกฎหมายว่า สถาบันความร่วมมือเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจลุ่มน้ำโขง (MI)
เป็นองค์กรไม่ได้แสวงหาผลประโยชน์ เป็นอิสระ
เป็นองค์กรระหว่างประเทศ ทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดกับสถาบันต่าง ๆ ในภูมิภาค
..
ในเดือนกรกฎาคม 2550 รัฐบาลไทยได้ลงนามในสัญญาอนุญาตให้ สำนักงานใหญ่ของสถาบันความร่วมมือเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจลุ่มน้ำโขง
(MI) ตั้งอยู่ในประเทศไทยและรับรองสถาบันฯ
ว่าเป็นองค์กรของรัฐบาลระหว่างประเทศ ของ 6 ประเทศสมาชิก GMS
..
ภายหลังการลงนามเสร็จสิ้น
รศ. ดร. อภิสิฏฐ์ ศงสะเสน รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการและการเรียนรู้ตลอดชีวิต
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และรักษาการแทนคณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มอบของที่ระลึกแก่ Mr.
Suriyan Vichitlekam, Executive Director และผู้เข้าร่วมทุกท่านถ่ายภาพร่วมกันเป็นที่ระลึก