เมื่อวันอังคารที่ 24 กันยายน 2567 เวลา 13.00 น. ณ สวนสมรมคนกรุง@ทุ่งบางเขน สำนักพิพิธภัณฑ์และวัฒนธรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
บางเขน ดร.จงรัก วัชรินทร์รัตน์ รักษาการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร
ได้แก่ รศ.ดร.อภิสิฏฐ์ ศงสะเสน รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการและการเรียนรู้ตลอดชีวิต ศ.
ดร.ดอกรัก มารอด รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและความเป็นสากล ผศ.ดร.ศุภพัชร์พิมล สิมลี ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์
ผศ. น.ท.หญิง ดร.งามลมัย ผิวเหลือง คณบดีคณะสังคมศาสตร์ ผศ.ดร.กรกิต ชุ่มกรานต์ รองคณบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์และพัฒนาคุณภาพการศึกษา
คณะสังคมศาสตร์ ผศ.ดร.ธัญภัสสร์ ทองเย็น อาจารย์ภาควิชาเทคโนโลยีและการจัดการสิ่งแวดล้อม
คณะสิ่งแวดล้อม นางหทัยทรรศ เสมชูโชติ รักษาการแทนผู้อำนวยการกองวิเทศสัมพันธ์ และบุคลากรกองวิเทศสัมพันธ์ เข้าร่วมกิจกรรมปลูกต้นไม้และจัดวางแผ่นป้ายจารึก
(Memorial plaque) ร่วมกับสถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐฮังการีประจำประเทศไทย
เนื่องด้วย ดร.ชานดอร์ ชิโพช (H.E. Dr. Sándor Sipos)
เอกอัครราชทูตฮังการีประจำประเทศไทย และนางสาวคามิลลา บาลลา (Ms. Kamilla
Balla) รองหัวหน้าสำนักงาน สถานเอกอัครราชทูตฮังการีประจำประเทศไทย เข้าร่วมกิจกรรมปลูกต้นไม้และจัดวางแผ่นป้ายจารึก
(Memorial plaque) ของ Mr. Imre
Csávás
วิศวกรการเกษตร ผู้เชี่ยวชาญด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
และอาจารย์ชาวฮังการี ซึ่งเคยดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการระดับภูมิภาค
องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ สำนักงานประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกในกรุงเทพมหานคร
(Food and Agriculture Organization: FAO) ระหว่างปี ค.ศ. 1983-1995 ในโอกาสเฉลิมฉลองครบรอบ 155 ปี
แห่งการสถาปนาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศอย่างเป็นทางการระหว่างไทย-ออสเตรีย-ฮังการี
ดร.จงรัก วัชรินทร์รัตน์ ให้เกียรติเป็นประธานกล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมกิจกรรมทุกท่าน
ก่อนนำดร.ชานดอร์ ชิโพช และนางสาวคามิลลา บาลลา เดินเยี่ยมชมวิถีชีวิตไทยและวิถีเกษตร
ภายในสำนักพิพิธภัณฑ์และวัฒนธรรมการเกษตร อาทิ เครื่องมือทำนา เครื่องมือจับสัตว์
และของใช้ในครัวเรือนของไทยในอดีต อีกทั้งสาธิตการตีระนาดและการเป่าแคนเล็ก จากนั้นจึงร่วมปลูกต้นทรงบาดาล
(Senna
surattensis (Burm.f.) H.S.Irwin & Barneby) ซึ่งเป็นพืชสมุนไพร
สามารถใช้รับประทานเพื่อถอนพิษไข้ และถ่ายภาพร่วมกันเป็นที่ระลึก
เป็นอีกหลักฐานแสดงถึงความสัมพันธ์อันดีระหว่างกัน สวนสมรมคนกรุง@ทุ่งบางเขน
นับว่าเป็นอีกหนึ่งสถานที่ที่เหมาะสมให้นิสิตแลกเปลี่ยนมาเยี่ยมชมเพื่อศึกษาเรียนรู้เกี่ยวกับพืชและสมุนไพรไทยเป็นอย่างยิ่ง