โครงการ How to Better English 2024 หัวข้อ “How to make presentations more appealing through voice training and more”

โครงการ How to Better English 2024 หัวข้อ “How to make presentations more appealing through voice training and more”

เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2567 เวลา 09.00 น. – 12.00 น. ณ ห้องประชุมธีระ สูตะบุตร ชั้น 2 อาคารสารนิเทศ 50 ปี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน และผ่านโปรแกรมซูม (Zoom Meeting) รับชมได้ผ่านทาง Nontri Live จัดงานบรรยายโครงการ How to Better English 2024 หัวข้อ การอบรมเชิงปฏิบัติการฝึกการออกเสียงที่ทำให้การนำเสนอน่าดึงดูดใจผู้ฟังมากขึ้นและการพัฒนาภาษาอังกฤษอย่างยั่งยืนผ่านการอ่าน “How to make presentations more appealing through voice training and more” ได้รับเกียรติจากรองศาสตราจารย์ ดร. ปัทมาวดี เล่ห์มงคล  คณบดีคณะศึกษาศาสตร์ เป็นประธานในการกล่าวเปิดงาน (Opening Remarks) โดยมีวิทยากร 2 ท่าน คือ Professor Andrew Nowlan, the Language Center, Kwansei Gakuin University, Japan และ ดร. นฤดล เสมชูโชติ สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษ ภาควิชาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และพิธีกรดำเนินรายการ คือ นางสาวสุคันธ์ธารา ยนต์โต นิสิตชั้นปีที่ 3 คณะศึกษาศาสตร์    มก. และเป็นนิสิตวิเทศสัมพันธ์อาสา (KU Student Ambassador) รุ่นที่ 6   

..

กองวิเทศสัมพันธ์ ร่วมกับคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และสมาคมการอ่านอย่างกว้างขวางในประเทศไทย กำหนดจัดการบรรยายและอบรมเชิงปฏิบัติการโครงการ How to Better English 2024 หัวข้อ การอบรมเชิงปฏิบัติการฝึกการออกเสียงที่ทำให้การนำเสนอน่าดึงดูดใจผู้ฟังมากขึ้นและการพัฒนาภาษาอังกฤษอย่างยั่งยืนผ่านการอ่าน “How to make presentations more appealing through voice training and more” สำหรับนิสิตและบุคลากรมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยเป็นการบรรยายและอบรมเชิงปฏิบัติการเป็นภาษาอังกฤษ  มีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษ โดยเน้นการสร้างความเข้าใจและความชำนาญในการใช้เสียงในการพูดในที่สาธารณะเพื่อเพิ่มความมั่นใจในการสื่อสารและการนำเสนอข้อมูลในภาษาอังกฤษอย่างมีประสิทธิภาพ การเรียนรู้เกี่ยวกับการควบคุมเสียง การใช้สัมผัสที่ถูกต้อง และเทคนิคการพูดให้มีประสิทธิภาพ รวมทั้งปิดท้ายการบรรยายเพิ่มเติมในหัวข้อ Sustainable English Language Development เพื่อเป็นการให้ความรู้ในการทำการอ่านอย่างกว้างขวางและเพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษแก่นิสิตและบุคลากรมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และสร้างนิสัยรักการอ่านเพื่อพัฒนาทักษะทางภาษาของตนเองตลอดจนเพื่อเป็นการเสริมสร้างความสามารถในการเรียนรู้ตลอดชีวิตของผู้เรียน

..

Professor Andrew Nowlan ดำรงตำแหน่งเป็นรองศาสตราจารย์พิเศษด้านภาษาที่ศูนย์ภาษา ณ Kwansei Gakuin University ประเทศญี่ปุ่น และเป็นนักวิจัยเชิงรุกด้านการเรียนรู้นานาชาติแบบออนไลน์ร่วมกัน (COIL) และอีกสองสามสาขา รวมถึงการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรมและความเป็นสากล Professor Nowlan มีความเชี่ยวชาญในการฝึกอบรมการนำเสนอหลายครั้ง โดยเฉพาะสำหรับผู้เรียนภาษาอังกฤษในฐานะภาษาต่างประเทศ วิทยากรอีกท่านคือ ดร. นฤดล เสมชูโชติ จากคณะศึกษาศาสตร์ และดำรงตำแหน่ง Chair สมาคมการอ่านอย่างกว้างขวางแห่งประเทศไทย (Thailand Extensive Reading Association) สมาคมนี้เป็นองค์กรในเครือของมูลนิธิส่งเสริมการอ่านอย่างกว้างขวาง

‘’

โดยสรุป วิทยากรได้นำผู้เข้าร่วมกว่า 90 คน ทั้งในห้องประชุมและออนไลน์ เรียนรู้โดยการปฏิบัติการฝึกฝนในการออกเสียงการนำเสนอ เช่น การพูดออกมาดังๆ และสลับกันฟัง การอัดเสียงพูดของตนองใช้เวลาพูดประมาณ 90 วินาที หรือการพูดประโยคยาวๆ ในหนึ่งลมหายใจ การฝึกการหายใจ และปัญหาทั่วไปในการพูดในที่สาธารณะ (6 common public speaking problems) เป็นต้น ซึ่งผู้เข้าร่วมได้ฝึกฝนในการพูดออกเสียง และกิจกรรมต่างๆระหว่างการฝึกอบรมในครั้งนี้ จากนั้น ปิดท้ายโดย ดร. นฤดล เสมชูโชติ จากคณะศึกษาศาสตร์ ว่าการเรียนภาษาอังกฤษเป็นสิ่งที่ต้องย้ำและซ้ำอยู่เสมอมิฉะนั้นจะเกิดการลืม (forgetting curve) การอ่านอย่างกว้างขวางคืออะไร (What is Extensive Reading?) การเรียนการสอนภาษาอังกฤษในประเทศไทยจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องใช้งาน และใช้เวลาบ่อยๆ จะค่อยๆเข้าใจโครงสร้างไวยากรณ์ไปเอง การที่ผู้เรียนลืมหรือเรียกว่า (Forgetting curve) เพราะไม่ได้นำมาใช้หรือโอกาสที่จะนำมาใช้มีน้อย ดังนั้นการอ่านอย่างกว้างขวาง (Extensive Reading) จะทำให้มีโอกาสได้ใช้การเรียนภาษาอังกฤษแบบซ้ำๆ หัวใจสำคัญคือ ภาษาต้องไม่ยากเกินไป อยู่ในระดับของผู้เรียน เป็น tailor made education ที่เหมาะกับแต่ละคน การเรียนภาษาอังกฤษเหมือนกับการการเก็บเล็กผสมน้อยเหมือนสร้างจิกซอว์ โดยมีการอ่านอย่างกว้างขวาง (Extensive Reading) เป็นตัวเสริมให้คำศัพท์ และสิ่งที่เรียนรู้ทั้งหมดอยู่ได้คงทน และหลักการสำคัญ คือ READ = Read something quickly and Enjoyable with Adequate comprehension so they Don’t need a dictionary ปัญหาวิธีการเรียนภาษาอังกฤษของไทยคือ เน้นตัวหลักภาษาและไวยากรณ์มากว่าความหมาย สิ่งที่ถูกต้องคือ จะต้องอ่านอย่างลื่นไหล เข้าใจ และสนุก ไม่ใช่การอ่านเพื่อเน้นตัวภาษา แต่เป็นความเข้าใจที่จะทำให้เราพัฒนาต่อไปได้ Extensive Reading is not an option, it is a glue that hold things together.

..

การจัดโครงการฝึกอบรมในครั้งนี้ นับว่าบรรลุวัตถุประสงค์และประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี มีผู้เข้าร่วมประชุมแบบ Hybrid ครั้งนี้กว่า 90 คนทั้งนิสิต อาจารย์และบุคลากรจากคณะและหน่วยงานต่าง ๆ จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เข้าร่วมการบรรยายและได้ประเมินผลในเชิงบวก ผู้เข้าร่วมหลายท่านแสดงความคิดเห็นว่าเนื้อหานั้นน่าสนใจและกิจกรรมนี้ช่วยให้เข้าใจและได้ลองทำการปฏิบัติการฝึกการออกเสียงที่ทำให้การนำเสนอน่าดึงดูดใจผู้ฟังมากขึ้น และช่วยให้การพัฒนาภาษาอังกฤษอย่างยั่งยืนผ่านการอ่านภาษาอังกฤษอย่างกว้างขวางให้ดีขึ้น



ข่าวและกิจกรรม