เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 23 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 11:00 น. ณ ห้องประชุม 8 ชั้น 2 อาคารสารนิเทศ 50 ปี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ดร. จงรัก วัชรินทร์รัตน์ อธิการบดี พร้อมด้วย รองศาสตราจารย์ ดร. สุตเขตต์ นาคะเสถียร รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและสร้างสรรค์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์นาวาอากาศโทหญิง ดร. งามลมัย ผิวเหลือง คณบดีคณะสังคมศาสตร์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ณัฐวีณ์ บุนนาค รองคณบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์ คณะสังคมศาสตร์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ลลิตา หาญวงษ์ อาจารย์ประจำภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ นางสาวปรารถนา ถิรเกียรติคุณ หัวหน้างานความร่วมมือระหว่างประเทศ กองวิเทศสัมพันธ์ และบุคลากรกองวิเทศสัมพันธ์ ให้การต้อนรับคณะผู้เข้าร่วมประชุม (KU-AAMC) ซึ่งเป็นโครงการจัดตั้งศูนย์แอฟริกา เอเชีย และตะวันออกกลางแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (KU Africa, Asia and the Middle East Centre (KU-AAMC) เพื่อหารือและเสนอแนวทางในการพัฒนาความร่วมมือดังกล่าว คณะผู้เข้าร่วมประชุม (KU-AAMC) ประกอบด้วย Mr. Adrian Perkasa, Faculty of Humanities, Universitas Airlangga Surabaya, Indonesia; Professor Dr. Ni Nyoman Tri Puspaningsih, Vice Rector for Academic, Student and Alumni Affairs, Universitas Airlangga Surabaya, Indonesia; Assoc. Prof. Lina Puryanti, Vice Dean, Research, Internationalization and Cooperation, Faculty of Humanities, Universitas Airlangga, Surabaya, Indonesia; Dr. Mathew Senga, Senior Lecturer, College of Social Sciences, University of Dar es Salaam, Dar es Salaam, Tanzania; Asst. Prof. Irfan Wahyudi, Vice Dean, Research, Internationalization and Cooperation, Faculty of Social Sciences, Universitas Airlangga, Surabaya, Indonesia; Professor Mamadou Fall, Special Advisor to the Vice-Chancellor, Cheikh Anta Diop University, Dakar, Senegal; Dr. Webby Kalikiti, Department of Historical and Archaeological Studies, University of Zambia, Lusaka, Zambia; Dr. Rita Padawangi, Senior Lecturer, Centre for University Core, Singapore University of Social Sciences และ Dr. Stacey Links, Leiden University, Leiden, Netherlands
การประชุมวันนี้เกิดขึ้นสืบเนื่องจากคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กำหนดจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ Workshop on the Role of Kasetsart University in Fostering Africa Asia Connection in Thailand and Beyond ในหัวข้อ “Reinforcing the Southeast Asian-African Collaborative Network” ระหว่างวันที่ 21 – 24 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 09.00 น. – 16.30 น.และวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 09.00 น. – 12.30 น. ณ ห้องประชุมนพเก้า อาคาร 4 ชั้น 9 คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และได้เรียนเชิญ รองศาสตราจารย์ ดร. กัมปนาท เพ็ญสุภา รองอธิการบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์ (แทน ดร. จงรัก วัชรินทร์รัตน์ อธิการบดี) เป็นประธานกล่าวเปิดโครงการฯ ในวันอังคารที่ 21 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 9.30 น. ณ ห้องประชุมนพเก้า อาคาร 4 ชั้น 9 คณะสังคมศาสตร์ ดังนั้น คณะผู้เข้าร่วมประชุม (KU-AAMC) แจ้งความประสงค์ขอหารือความร่วมมือกับคณะผู้บริหารมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เกี่ยวกับโครงการจัดตั้งศูนย์แอฟริกา เอเชีย และตะวันออกกลาง แห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (KU Africa, Asia and the Middle East Centre (KU-AAMC) โดยปัจจุบันได้ดำเนินกิจกรรมต่างๆ เพื่อส่งเสริมการเผยแพร่องค์ความรู้ด้านเอเชีย แอฟริกา ตะวันออกกลางศึกษา ขยายขอบเขตงานในการสร้างเครือข่ายระหว่างนักวิชาการและสถาบันการศึกษาทั่วทวีป KU-AAP หรือ KU Asia-Africa Programme เป็นโปรแกรมที่ริเริ่มโดยคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เพื่อสร้างพื้นที่ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ระหว่างภูมิภาคแอฟริกา-เอเชีย ผ่านกิจกรรมต่าง ๆ ทั้งการส่งเสริมการทำวิจัยที่เกี่ยวข้อง การเป็นศูนย์กลางในการสร้างความร่วมมือของสถาบันการศึกษาระหว่างสองภูมิภาค และพัฒนาหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา แอฟริกา-เอเชีย ในอนาคต จากโครงการ KU-AAP หรือ KU Asia-Africa Programme ที่เกิดขึ้นจึงได้มีโครงการจัดตั้งศูนย์แอฟริกา เอเชีย และตะวันออกกลาง แห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (KU Africa, Asia and the Middle East Centre (KU-AAMC)
ที่ประชุมได้หารือความร่วมมือต่างๆ รวมทั้งการทำงานระดมสมองของการประชุมเชิงปฏิบัติการ Workshop on the Role of Kasetsart University in Fostering Africa Asia Connection in Thailand and Beyond ในวันแรก คือ วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2566 ในประเด็นต่างๆ เช่น ความเป็นมาและข้อมูลเกี่ยวกับ KU-AAP (Introduction and Presentation of KU-AAP), การพัฒนา SEA-A ในประเทศไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Developing SEA-A within Thailand and Southeast Asian), การหารือเกี่ยวกับกิจกรรมที่ผ่านมาและอนาคตของ KU-AAP (Discussion of KU-AAP’s past and future activities) และในวันที่สองคือ วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2566 ในประเด็นต่างๆ เช่น การเชื่อมต่อ SEA-A และอื่น ๆ: สถาบันการศึกษาและการเชื่อมโยงเครือข่าย(Making Connection with SEA-A and Beyond: Institutional Structure and Linking Networks), การหารือเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของ KU-AAP ในแพลตฟอร์มที่มีอยู่ (Discussion on KU-AAP Participation in Existing Platforms), ระดมสมอง: การเขียนแผนการทำงานและลำดับเวลาสำหรับ KU-AAP (Brainstorm Session: Writing working plan and timeline for KU-AAP) และโปรแกรมวันที่สาม คือ วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2566 การไปทัศนศึกษา (excursion) เดินทางไปอำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม เพื่อศึกษาดูงานโครงการต่างๆ อาทิ การทำน้ำตาลมะพร้าว ณ ตำบลบางขันแตก ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ U2T (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล) ของคณะสังคมศาสตร์ เข้าชมโครงการอัมพวา ชัยพัฒนานุรักษ์ ตำบลอัมพวา อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาและอนุรักษ์ศิลปกรรม วิถีชีวิต และวัฒนธรรมพื้นบ้านที่มีเอกลักษณ์เฉพาะถิ่นของชุมชนอัมพวาทั้งในด้านกายภาพ และการดำเนินชีวิตของผู้อาศัยในพื้นที่และชุมชน โดยการเข้ามามีส่วนร่วมในการประกอบอาชีพ และประกอบกิจกรรมภายในพื้นที่
ที่ประชุมได้แลกเปลี่ยนข้อมูลและปรึกษาหารือเกี่ยวกับความร่วมมือต่างๆในอนาคต และเห็นพ้องถึงการสร้างความร่วมมืออย่างเต็มรูปแบบ ขยายรูปแบบเครือข่าย (Network) ภายใต้ Umbrella หรือ Platform ความร่วมมือนี้ให้ครอบคลุมให้กว้างขึ้น ทั้งระดับประเทศ (National) และระดับภูมิภาค (Regional) ตลอดจนส่งเสริมความร่วมมือด้านวิชาการ การวิจัย การประชุม ทุนสนับสนุน การตีพิมพ์วารสาร สื่อต่างๆ เพื่อสร้างความร่วมมือจากเครือข่ายมหาวิทยาลัยสู่ชุมชนในระดับชาติและระดับนานาชาติ โดยความร่วมมือในเวทีนี้มุ่งเน้นเพื่อประโยชน์ต่อสังคมโดยรวม ที่ประชุมยังเห็นชอบการจัดทำข้อตกลงอย่างเป็นทางการ เช่น MOU หรือ MOA
ดร.
จงรัก วัชรินทร์รัตน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวว่าการเสริมสร้างความเข้มแข็งและการขยายตัวของความร่วมมือข้ามภูมิภาคระหว่างเอเชีย
แอฟริกาและตะวันออกกลาง มีความสำคัญอย่างยิ่ง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์พร้อมและยินดีให้การสนับสนุนการทำงานของศูนย์อย่างเต็มที่ด้วยศักยภาพของคณาจารย์ของมก.
โดยเริ่มที่คณะสังคมศาสตร์ มก.
และจะส่งเสริมให้ขยายความร่วมมือนี้ไปยังคณะหรือสาขาวิชาอื่นๆ ในอนาคต ที่ประชุมทั้งสองฝ่ายมีความยินดีในความสำเร็จของการหารือแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกันครั้งนี้
และจะได้ติดตามความคืบหน้าการดำเนินการโครงการจัดตั้งศูนย์แอฟริกา เอเชีย
และตะวันออกกลาง แห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (KU Africa, Asia and the Middle
East Centre (KU-AAMC) ต่อไป