พิธีเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการ Workshop on the Role of Kasetsart University in Fostering Africa Asia Connection in Thailand and Beyond จัดโดย คณะสังค

พิธีเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการ Workshop on the Role of Kasetsart University in Fostering Africa Asia Connection in Thailand and Beyond จัดโดย คณะสังค

เมื่อวันอังคารที่ 21 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 09.30 น. ณ ห้องประชุมนพเก้า อาคาร 4  ชั้น 9 คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ รองศาสตราจารย์ ดร. กัมปนาท เพ็ญสุภา รองอธิการบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์ ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการ Workshop on the Role of Kasetsart University in Fostering Africa Asia Connection in Thailand and Beyond  ในหัวข้อ “Reinforcing the Southeast Asian-African Collaborative Network” พร้อมด้วย ผู้ช่วยศาสตราจารย์นาวาอากาศโทหญิง ดร. งามลมัย ผิวเหลือง คณบดีคณะสังคมศาสตร์ ให้เกียรติกล่าวต้อนรับแขกผู้มีเกียรติ ประกอบด้วย คณะผู้เข้าร่วมประชุม (KU-AAMC) ตัวแทนจากสำนักงานความร่วมมือระหว่างประเทศ (TICA)  ผู้บริหารและคณาจารย์คณะสังคมศาสตร์ อาทิ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ณัฐวีณ์ บุนนาค รองคณบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ พวงทิพย์ เกิดทรัพย์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ลลิตา หาญวงษ์ นางสาวอารยา พีชผล ผู้อำนวยการกองวิเทศสัมพันธ์ นางสาวปรารถนา ถิรเกียรติคุณ หัวหน้างานความร่วมมือระหว่างประเทศ กองวิเทศสัมพันธ์ และบุคลากรกองวิเทศสัมพันธ์ เข้าร่วมพิธีเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการ Workshop on the Role of Kasetsart University in Fostering Africa Asia Connection in Thailand and Beyond ครั้งนี้

 

การประชุมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ สืบเนื่องจากคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มีแผนการดำเนินงานจัดตั้งศูนย์แอฟริกา เอเชีย และตะวันออกกลาง แห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ หรือ KU Africa, Asia and the Middle East Centre (KU-AAMC) โดยปัจจุบันได้ดำเนินกิจกรรมต่างๆ เพื่อส่งเสริมการเผยแพร่องค์ความรู้ด้านเอเชีย แอฟริกา ตะวันออกกลางศึกษา ขยายขอบเขตงานในการสร้างเครือข่ายระหว่างนักวิชาการและสถาบันการศึกษาทั่วทวีป จึงได้จัดโครงการประชุมเชิงปฏิบัติการ Workshop on the Role of Kasetsart University in Fostering Africa Asia Connection in Thailand and Beyond ในหัวข้อ “Reinforcing the Southeast Asian-African Collaborative Network” ระหว่างวันที่ 21 – 24 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 9.00 – 16.30 น. และวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 9.00 – 12.30 น. ณ ห้องประชุมนพเก้า อาคาร 4 ชั้น 9 คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

 

โอกาสนี้ รองศาสตราจารย์ ดร. กัมปนาท เพ็ญสุภา รองอธิการบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์ กล่าวในพิธีเปิดว่า “ขอต้อนรับทุกท่านสู่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในนามของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กระผมรู้สึกดีใจที่ได้ต้อนรับแขกของมก.จากใกล้และไกล เพื่อเฉลิมฉลองความร่วมมือของเอเชียและแอฟริกาในด้านวิชาการและอื่นๆ ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา KU-AAP ได้ส่งเสริมการศึกษาและกิจกรรมที่มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความตระหนักทางสังคมและเสริมสร้างความเข้มแข็งความสัมพันธ์แอฟริกาและไทย ต้อนรับนักศึกษาจากแอฟริกาเพื่อศึกษาที่มก. และประสานงานโครงการวิจัยร่วมกันข่าวดีก็คือในปีนี้ KU-AAP จะถูกเปลี่ยนให้เป็นศูนย์ประสานงานที่มีพนักงานประจำ มีโครงสร้างที่มั่นคงยิ่งขึ้น และให้ทุนสนับสนุนเพื่อเปิดตัวโครงการและกิจกรรมใหม่ๆ เพื่อรักษาความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างสองทวีป แม้ว่าความร่วมมือของมก.กับแอฟริกาจะเริ่มต้นเมื่อสี่ทศวรรษที่แล้ว แต่งานก็ยังไม่เสร็จสมบูรณ์ ปัจจุบันมก.มี MOU กับ 5 ประเทศในแอฟริกา ได้แก่ เคนยา โมร็อกโก แอฟริกาใต้ ซูดานใต้ และซูดาน โดยเน้นด้านการเกษตรและวิทยาศาสตร์ธรรมชาติเป็นหลัก นอกจากนี้ ด้วยความช่วยเหลืออย่างต่อเนื่องจากสำนักงานความร่วมมือระหว่างประเทศ (TICA) เรายังฝึกอบรมเกษตรกรแอฟริกัน เจ้าหน้าที่ของรัฐ และนักวิชาการ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเป้าหมายของเราในการบรรลุการพัฒนาที่ยั่งยืนร่วมกัน เรายังมีนักเรียนแอฟริกันจำนวนมาก ตั้งแต่ปี 2016-2020 เรามีนักเรียน 31 คนมาจากทั่วแอฟริกา ส่วนใหญ่มาจากกานา ไนจีเรีย และเอสวาตินี ปีที่แล้วปีเดียว เรามีนักเรียนแอฟริกัน 11 คน

 

นับเป็นความสำคัญอย่างยิ่งที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์จะรักษาบรรยากาศทางวิชาการที่ดีนี้กับมหาวิทยาลัยในแอฟริกา มก.ให้ความสำคัญเป็นอย่างมากที่จะเน้นถึงประโยชน์ร่วมกันที่ได้รับจากการส่งเสริมความร่วมมือในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ – แอฟริกา ด้วยการปฏิรูปของ KU-AAP มหาวิทยาลัยจะมีแผนโครงสร้างมากขึ้นสำหรับการเชื่อมต่อสถาบันในเอเชียและแอฟริกา ซึ่งจะไม่จำกัดเฉพาะวิทยาศาสตร์ธรรมชาติเหมือนแต่ก่อน แต่จะขยายไปยังทุกสาขาวิชาในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กระผมหวังว่าเราจะสามารถพัฒนาหลักสูตรตามความรู้ที่มีร่วมกันและความร่วมมือระหว่างเอเชียและแอฟริกาในเร็วๆ นี้ กระผมขอขอบคุณทุกท่านสำหรับการเข้าร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการนี้ และหวังว่าทุกท่านจะมีความสุขกับการมาเยี่ยมเยือนมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และกรุงเทพฯ”จากนั้นเป็นการปาฐกถาพิเศษ (Keynote Speech) ในหัวข้อ The Development of INAVAC Vaccine at Universitas Airlangga: The Hexa Helix Approach โดย Professor Dr. Ni Nyoman Tri Puspaningsih, Vice Rector for Research, Innovation and Community Development Universitas Airlangga ประเทศอินโดนีเซีย และเข้าสู่โปรแกรมการประชุมในหัวข้ออื่นๆตามลำดับ

 

KU-AAP หรือ KU Asia-Africa Programme เป็นโปรแกรมที่ริเริ่มโดยคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เพื่อสร้างพื้นที่ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ระหว่างภูมิภาคแอฟริกา-เอเชีย ผ่านกิจกรรมต่าง ๆ ทั้งการส่งเสริมการทำวิจัยที่เกี่ยวข้อง การเป็นศูนย์กลางในการสร้างความร่วมมือของสถาบันการศึกษาระหว่างสองภูมิภาค และพัฒนาหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา แอฟริกา-เอเชีย ในอนาคต 



ข่าวและกิจกรรม