งานวันสถาปนามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในวาระพิเศษครบรอบ 80 ปี

งานวันสถาปนามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในวาระพิเศษครบรอบ 80 ปี

วันพฤหัสบดีที่ 2 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 6.45 น. ณ บริเวณอนุสาวรีย์สามบูรพาจารย์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  บางเขน มีพิธีวางพวงมาลาคารวะอนุสาวรีย์สามบูรพาจารย์ โดยผู้บริหาร คณาจารย์ นิสิตเก่า นิสิตปัจจุบัน บุคลากร นักเรียนจากโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครอบครัวของสามบูรพาจารย์ หน่วยงานต่าง ๆ จากนั้นเป็นพิธีทำบุญตักบาตรพระสงฆ์ จำนวน 81 รูป ณ บริเวณหน้าหอประชุมใหญ่  และกิจกรรมภายในหอประชุมใหญ่ ซึ่งประกอบด้วยการบรรเลงดนตรี โดย วงดุริยางค์เครื่องลมแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (KU Wind Symphony) การขับบทเสภา 80 ปี มก. รับชมตัวอย่างภาพยนตร์สั้น KUniverse (Official Trailer) เปิดตัวการจัดทำภาพยนตร์สั้น KUniverse เปิดตัวเหรียญที่ระลึก 80 ปี มก. และพิธีมอบโล่ประกาศเกียรติคุณแก่ผู้มีคุณูปการแก่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์


ต่อมา เวลา 8.30 - 13.30 น. ณ ห้องประชุมสุธรรม อารีกุล ชั้น 1 อาคารสารนิเทศ 50 ปี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน กำหนดให้มีการจัดงานประชุมวิชาการนานาชาติ ในวาระครบรอบ 80 ปีของการสถาปนามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ หรือ KU Academic Forum: In Celebration of the 80th Anniversary of Kasetsart University ภายใต้หัวข้อ Higher Education and Leadership for Global Goals: Sustainable Development and Beyond โดย ดร.จงรัก วัชรินทร์รัตน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ให้เกียรติร่วมงานและกล่าวต้อนรับแขกผู้มีเกียรติทุกท่าน พร้อมด้วย ดร. กฤษณพงศ์ กีรติกร นายกสภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นประธานในพิธีและกล่าวเปิดงานประชุม ท่ามกลางแขกคนสำคัญและอธิการบดีที่ได้รับเชิญจากมหาวิทยาลัยพันธมิตรทั้งในและต่างประเทศกว่า 50 สถาบัน พร้อมด้วย  ผู้บริหาร คณาจารย์ นักวิจัย บุคลากรและนิสิต จำนวนผู้เข้าร่วมงานทั้งหมดกว่า 500 ท่าน พิธีกรดำเนินรายการประชุม โดย Professor Matthew P. Downs, Senior Advisor for International Relations มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์


งานประชุมวิชาการนานาชาติ ในครั้งนี้แบ่งออกเป็น 2 ส่วนหลัก ช่วงเช้า เวลา 09.30 น. – 13.30 น.  เป็นการบรรยายพิเศษ (Keynote Sessions) จากผู้เชี่ยวชาญจากมหาวิทยาลัย/สถาบันชั้นนำจากต่างประเทศจำนวน 4 ท่าน ร่วมแสดงความยินดีและกล่าวปาฐกถาพิเศษในวาระครบรอบ 80 ปี ของการสถาปนามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ KU Academic Forum: In Celebration of the 80th Anniversary of Kasetsart University ภายใต้หัวข้อ Higher Education and Leadership for Global Goals: Sustainable Development and Beyond ได้แก่ 1) Professor TANIZAWA Yukio, President, Yamaguchi University ประเทศญี่ปุ่น  ในหัวข้อ “Towards a Carbon Neutral Green Society and Bright Future” วิทยากรนำเสนอว่าทั้งสองมหาวิทยาลัยมีความร่วมมือที่ดีระหว่างกันนับตั้งแต่ พ.ศ. 2536 รวมถึงการสร้างความร่วมมือในหลักสูตรปริญญาโทร่วมกันเมื่อปี 2563 อีกทั้งกลุ่มงานวิจัยร่วมกันในหลายด้าน ไม่ว่าจะด้านมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ จนถึงวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ รวมถึงกลุ่มงานวิจัยเพื่อการส่งเสริมสังคมสีเขียว และการเคลื่อนไหว “สังคมสีเขียว” (CO2 emissions and economic growth) 8 กลุ่มวิจัย เช่น High-temperature Ethanol Fermentation; Satellite Remote Sensing; next generation immune-therapy for solid cancer เพื่อเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน SDG อย่างต่อเนื่อง


2) Professor Dr. Andreas PYKA, Vice President for International, University of Hohenheim ประเทศเยอรมนี ในหัวข้อ “University Alliances and Networks of Networks for Sustainability” กล่าวว่า  ในท่ามกลางวิกฤตการณ์และความท้าทายหลายประการเกิดขึ้นในโลก ปัจจัยหลายๆอย่างเช่น ความรู้ กฎเกณฑ์แนวทางแก้ไข ความร่วมมือระหว่างประเทศ การแลกเปลี่ยนประสบการณ์ การมีส่วนร่วมที่มากขึ้น สหวิทยาการ ความรับผิดชอบในเชิงรุก การวิจัยที่เปิดกว้างและโดยนัยยะมากขึ้น ทัศนคติและการฝึกอบรมเพื่อการเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยน "แรงบันดาลใจในการใช้งาน" เป็นงานวิจัย "ที่ได้รับแรงบันดาลใจจากความยั่งยืน" รวมทั้ง การสร้างพันธมิตรมหาวิทยาลัย อาทิ European Bioeconomy University การส่งเสริมทุนวิจัย เครือข่ายการวิจัยเฉพาะเรื่อง กิจกรรมจับคู่ โครงการปริญญาเอกร่วม ผลงานตีพิมพ์ สิ่งต่างๆเหล่านี้ล้วนเป็นข้อดีที่จะทำให้เกิดความรู้ที่หลากหลาย การเรียนรู้ร่วมกัน การสะสมประสบการณ์ การผสมข้ามพันธุ์ของนักวิจัย ฯลฯ เพื่อให้ทุกสถาบันมุ่งสู่พันธมิตร "ระดับโลก"


3) Professor Steven D. HANSON, Dean, International Studies and Programs, Department of Agricultural, Food and Resource Economics, Michigan State University ประเทศสหรัฐอเมริกา ในหัวข้อ “Global Engagement & Partnerships” กล่าวว่า Michigan State University มีความร่วมมือในระดับโลกที่หลากหลาย (A Legacy of Global Engagement from East Lansing to the World) เช่น ความร่วมมือกับประเทศไนจีเรีย ผ่านทางโปรแกรมต่างๆ เช่น MSU International Studies and Programs, Global/Multi-regional- various major research themes / Global Spartan Experience สิ่งต่างๆเหล่านี้ล้วนส่งผลต่อการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลกของ MSU (global rankings) ในส่วนของความร่วมมือระหว่าง MSU และ KU เป็นการส่งเสริมความร่วมมือที่เน้น SDGs เช่น การทำงานเกี่ยวกับระบบอาหารที่ยั่งยืน (sustainable food systems) งานนวัตกรรม (innovations) ศาสตราจารย์อาคันตุกะ (visiting professors) ซึ่งความสำเร็จเหล่านี้ได้ผ่าน (1) “แนวคิดแพลตฟอร์มความร่วมมือ” เช่น โครงการ/โปรแกรมต่างๆ และ (2) คู่สถาบันร่วมกัน เช่น joint degrees, joint research centers, Asia Hub ความร่วมมือและโปรแกรมการศึกษาเหล่านี้จะส่งไปถึงนิสิตนักศึกษาต่อไป เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมทั่วทั้งทวีปและสาขาวิชา และสร้างนวัตกรรมใหม่ที่มีผลกระทบอย่างแท้จริงต่อโลกของเรา


และ 4) Professor CHEW Fook Tim, Vice Dean, Faculty of Science, National University of Singapore ประเทศสิงคโปร์ ในหัวข้อ “Collaborative Opportunities in Higher Education and Leadership towards Sustainable Development” กล่าวถึง Agri-food@NUS ว่าเป็นแนวคิดการผลิตอาหารในเมือง เช่น งานวิจัย Super Kale หรือการปลูกผักในร่มด้วยนวัตกรรมและความร่วมมือทั่วโลก (NUS Innovation Strategy in Agri-food Sector) เน้น “Farm to Fork to Healthy” มุ่งเน้นที่ ห่วงโซ่คุณค่า (value chain) ผู้เชี่ยวชาญด้านนวัตกรรม (expert areas for innovation) แพลตฟอร์มที่มีเทคโนโลยีพื้นฐาน (innovation platforms) และ พื้นที่ (fields) 1% ของประเทศสิงคโปร์เน้นการเกษตร ส่วนอีก 90% เป็นอาหารนำเข้า ดังนั้น สำนักงานอาหารสิงคโปร์ (Singapore Food Agency) จึงสร้างแนวคิด “ตะกร้าอาหาร 3 แห่ง” (the 3 food basket) คือ แหล่งนำเข้าที่หลากหลาย การเติบโตในท้องถิ่น - ใช้เทคโนโลยีเพื่อเพิ่มอาหารจากพื้นที่ 1% การเติบโตในต่างประเทศ และการใช้เทคโนโลยีที่เติบโตเต็มที่ทำให้สามารถเอาชนะข้อจำกัดด้านที่ดินและแรงงานได้ มุ่งเน้นการสร้าง SG Food Story  R & D และวางแผนที่จะอุดช่องว่างที่เทคโนโลยีปัจจุบันไม่สามารถแก้ไขได้ ตัวอย่างเช่น ความร่วมมือทางอุตสาหกรรมขนาดใหญ่เพื่อปรับปรุงผลผลิต / การคัดเลือกจีโนม / Digital Twining / AI การจับคู่ดิจิทัลและการเพิ่มประสิทธิภาพฟาร์มในร่ม (Indoor Farming Optimization) / เทรนด์อาหารในอนาคต (Future Food Trends & Future Food) & การเปลี่ยนแปลงอาหารในอนาคตจากอุตสาหกรรม 4.0 สู่อุตสาหกรรม 5.0 และสังคม 5.0 (Transformation from Industry 4.0 to Industry 5.0 & Society 5.0) / ความยืดหยุ่นของอาหาร (Food Resilience) / การผลิตขั้นสูงกับเทรนด์อาหารในอนาคต (Advanced Manufacturing with Future Food Trends) / การเตรียมพร้อมรับมือวิกฤตอาหารด้วยเทรนด์อาหารในอนาคต (Food Crisis Preparedness with Future Food Trends) / การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในเมือง (Urban Aquaculture) /  โปรแกรมปรับปรุงพันธุ์ลูกผสมเฉพาะ (Unique Hybrid Breeding Program) / ไมโครไบโอมที่ส่งเสริมการเจริญเติบโต (Microbiomes that promote growth) / Foodomics: ผลิตผลอาหาร ผลิตภัณฑ์อาหาร ผลกระทบต่ออาหาร / เพื่อที่จะตอบว่า “Can we be food resilient?”


จากนั้นเวลา 14.00 – 15.00 น. ณ ห้องประชุม 1 ชั้น 1 อาคารสารนิเทศ 50 ปี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กำหนดให้มีพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ Memorandum of Agreement to Establish the Joint Degree Program ระหว่างมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กับ Nagoya University และพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ Memorandum of Agreement and Collaborative Research Agreement on Database Construction and Collaborative Research on Thermotolerant Microbes ระหว่างมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กับ Yamaguchi University โดย ดร. จงรัก วัชรินทร์รัตน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวแสดงความยินดีและเป็นประธานในพิธีลงนาม พร้อมด้วยคณะผู้บริหารมหาวิทยาลัย คณาจารย์จากคณะต่างๆที่เกี่ยวข้องร่วมเป็นเกียรติและสักขีพยานในพิธีลงนามทั้งสองฉบับ และให้การต้อนรับคณะผู้บริหารจากทั้งสองมหาวิทยาลัย


ส่วนที่สองในเวลา 18.00 น. – 21.00 น. คืองาน Networking Banquet ณ ห้องวิภาวดีบอลลูม โรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ เซ็นทรัลพลาซาลาดพร้าว มก. จัดงานต้อนรับแขกผู้มีเกียรติ ซึ่งประกอบด้วย ผู้เข้าร่วมประชุมคนสำคัญและอธิการบดีที่ได้รับเชิญจากมหาวิทยาลัยพันธมิตรทั้งในและต่างประเทศกว่า 50 สถาบัน พร้อมด้วย  ผู้บริหาร คณาจารย์ นักวิจัย เพื่อร่วมงานเลี้ยงรับรองพบปะพูดคุยเชื่อมสัมพันธ์ในงาน เพื่อการเชื่อมโยงในลักษณะของเครือข่าย โดยเปิดโอกาสให้แขกผู้มีเกียรติทุกท่านได้ร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและเสนอมุมมองเสนอคำแนะนำ และแนวคิดใหม่ ๆ ที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการทำงานและพัฒนาไปสู่ระดับการทำกิจกรรมต่างๆ เพื่อบรรลุเป้าหมายร่วมกันในอนาคต ภายในงาน Networking Banquet ได้นำเสนอคลิปวิดีโอสั้นจากมหาวิทยาลัยพันธมิตรทั้งในไทยและต่างประเทศกว่า 16 สถาบันที่ไม่สามารถมาร่วมงานได้แต่ส่งสารแสดงความยินดีเนื่องในวาระครบรอบ 80 ปีของการสถาปนามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  นอกจากนี้ มีการแสดงนาฏศิลป์ไทย และการแสดงดนตรีโดยวงดุริยางค์เครื่องลมแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ หรือ Kasetsart Winds เพื่อสร้างความทรงจำที่ประทับใจแก่แขกผู้มีเกียรติที่เข้าร่วมงานในครั้งนี้


วันศุกร์ที่ 3 กุมภาพันธ์ 2566 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์จัดกิจกรรมให้ผู้เข้าร่วมประชุมต่างประเทศเดินทางทัศนศึกษา (excursion) ไปยังวัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว) และพระบรมมหาราชวัง เยี่ยมชมนิทรรศการผลงานวิจัยและนวัตกรรม ณ หอจักรพันธุ์เพ็ญศิริ และได้เรียนเชิญผู้เข้าร่วมงานจากมหาวิทยาลัยในต่างประเทศเยี่ยมชมงานเกษตรแฟร์ ประจำปี 2566 ซึ่งจัดภายใต้แนวคิด “80 ปี  เกษตรนนทรี  นำวิถีใหม่ ไทยยั่งยืน” ซึ่งกำหนดจัดระหว่างวันที่ 3 – 11 กุมภาพันธ์ 2566 รวม 9 วัน ณ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน กรุงเทพฯ ในปีนี้ นับว่าเป็นการจัดยิ่งใหญ่ในโอกาสครบรอบ 80 ปี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 2 กุมภาพันธ์ 2566 และ หลังจากวิกฤติโควิด ในปีนี้ การจัดงานได้มีส่วนร่วมของนิสิต อาจารย์ บุคลากร ทุกคณะ สำนัก สถาบันอบ่างเต็มรูปแบบ มี การออกร้านจากสถานทูต ร้านค้านิสิต 221 ร้าน   (ชมรมกิจกรรมนิสิต 21 ร้าน / นิสิตทั่วไปรวมกลุ่มกัน อีก 200 ร้าน) ร้านอาหารนิสิต 15 สโมสรนิสิต และ ทุกคณะสำนัก สถาบัน จัดแสดงผลงานและถ่ายทอดความรู้ ตลอดเส้นทางของการจัดงานเกษตรแฟร์ เป็นการพลิกฟื้นบรรยากาศการจัดงานเกษตรแฟร์แบบดั้งเดิมให้ทุกท่านที่มางานเกษตรแฟร์ได้มาสัมผัสผลงานนวัตกรรมได้สอบถามข้อมูลความรู้กันกับอาจารย์ และนิสิตโดยตรง


การจัดงานประชุมวิชาการและกิจกรรมงานเกษตรแฟร์ ประจำปี 2566 "80 ปี เกษตรนนทรี นำวิถีใหม่ ไทยยั่งยืน" นับเป็นการเฉลิมฉลองในวาระครบรอบ 80 ปี แห่งการสถาปนามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ อย่างยิ่งใหญ่และสัมฤทธิ์ผลสูงสุด ทั้งทางด้านวิชาการ วิจัย การมีส่วนร่วมพัฒนาสังคมและประเทศชาติ รวมทั้งความร่วมมือระหว่างประเทศ


ท่านสามารถเข้าถึงไฟล์ presentation ของ keynote speaker ทั้ง 4 ท่านได้ตามที่อยู่ลิ้งค์ด้านล่าง

Keynote 1 Prof. Tanizawa >>Click<<

Keynote 2 Prof. Pyka >>Click<<

Keynote 3 Prof. Hanson >>Click<<

Keynote 4 Prof. Tim >>Click<<





ข่าวและกิจกรรม