การประชุมวิชาการพหุพาคีเครือข่ายครุศึกษาระดับนานาชาติ International Teacher Education Network Conference (TEN2022)

การประชุมวิชาการพหุพาคีเครือข่ายครุศึกษาระดับนานาชาติ International Teacher Education Network Conference (TEN2022)

International Teacher Education Network Conference: New Paradigms in Education in the Post-COVID-19 Era (ITEN2022) การประชุมวิชาการพหุพาคีเครือข่ายครุศึกษาระดับนานาชาติ กระบวนทัศน์ใหม่ของการศึกษาในยุคหลังโควิด-19 International Teacher Education Network Conference: New Paradigms in Educations in the Post-COVID-19 Era จัดโดย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ร่วมกับสมาคมเครือข่ายการศึกษาครูแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (AsTEN) ซึ่งเป็นองค์กรการศึกษาครูนานาชาติในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีสมาชิก 10 ประเทศ เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมวิชาการพหุพาคีเครือข่ายครุศึกษาระดับนานาชาติ กระบวนทัศน์ใหม่ของการศึกษาในยุคหลังโควิด-19 International Teacher Education Network Conference: New Paradigms in Educations in the Post-COVID-19 Era เพื่อเป็นการระดมความคิดเกี่ยวกับกระบวนทัศน์ในการศึกษาจากมุมมองของนักการศึกษาไทยและต่างประเทศ รวมทั้งเป็นเวทีแลกเปลี่ยนงานวิจัยทางด้านการศึกษาที่เกิดขึ้นในช่วงโควิดเพื่อให้เกิดแนวคิดร่วมกันและแนวปฏิบัติในอนาคตหลังโควิด และแนวคิดดังกล่าวจะได้นำไปสู่การปฏิบัติจริงในวงกว้างมากขึ้น โดยกำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 16-17 มีนาคม พ.ศ. 2565 ผ่านระบบออนไลน์

วัตถุประสงค์ของการประชุม มีดังนี้

-          เพื่อทำหน้าที่เป็นเวทีสำหรับนักการศึกษาและผู้ปฏิบัติงานจากหลากหลายสาขาวิชาและสหวิทยาการจากประเทศไทยและทั่วโลกในการรวบรวมการจัดการการศึกษาที่มีประสิทธิภาพ การประเมินและประเมินผล เทคโนโลยีการศึกษา และสาขาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

-          เพื่อใช้เป็นเวทีสำหรับนักวิจัยและนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาเพื่อแลกเปลี่ยนทางวิชาการและแบ่งปันประสบการณ์ด้านการศึกษา

-          เพื่อส่งเสริมและขยายความร่วมมือทางวิชาการระหว่างคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และสถาบันในเครือข่าย

-          เพื่อส่งเสริมและขยายความร่วมมือด้านการวิจัยระหว่างผู้เข้าร่วมและสถาบันที่เข้าร่วม

ในวันพุธที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2565 เวลา 08.30 – 09.00 น. เป็นพิธีเปิด เริ่มต้นด้วยการกล่าวต้อนรับโดย รองศาสตราจารย์ ดร. ปัทมาวดี เล่ห์มงคล คณบดีคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และให้เกียรติกล่าวเปิดงานโดย ดร. จงรัก วัชรินทร์รัตน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พิธีกรดำเนินรายการโดย รองศาสตราจารย์ ดร. นงลักษณ์ มโนวลัยเลา ภาควิชาอาชีวศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

งานประชุมวิชาการนานาชาติในรูปแบบออนไลน์ในครั้งนี้ แบ่งออกเป็น 2 ส่วนหลัก คือ ส่วนที่ 1 เป็นการบรรยายหลัก (Plenary Sessions) โดยวิทยากร 4 ท่านประกอบด้วย Keynote speaker 1- New Paradigms in teacher education: Prof. Dr. Anthony Clarke – University of British Columbia, Canada; Keynote speaker 2- New Paradigms in Technology Education/ Innovation: Prof. Dr. John Williams – Curtin, Australia; Keynote speaker 3- Assessment Using Learning Progressions: An Important Concept in Teacher Education: Prof. Mark Wilson, University of Berkeley, USA และ Keynote speaker 4- Fostering Learner Autonomy: Key to Advancing Learning in Post Covid-19: Assoc. Prof. Siew Foen Ng Universiti Malaysia Kelantan, Malaysia และส่วนที่ 2 เป็นการประชุมกลุ่มย่อย (Panelist Sessions) รวมทั้งหมด 11 กลุ่มสำหรับการประชุมทั้งสองวัน การนำเสนอที่พิเศษในวันที่ 16 มีนาคม 2565 เวลา 14.00 น. คือ การนำเสนอ (Oral Presentation) โดยนิสิตโครงการทุนศึกษาระยะสั้นสำหรับนักศึกษาประเทศกลุ่มอาเซียนเพื่อเฉลิมฉลองในวาระโอกาสที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ครบรอบ 80 ปี ซึ่งเป็นนิสิตแลกเปลี่ยนจากอินโดนีเซีย 2 ท่าน คือ Faiz Fauzan Hilmi และ Malia Fitria Jantini พร้อมด้วยอาจารย์ 1 ท่าน คือ ดร. นฤดล เสมชูโชติ จากคณะศึกษาศาสตร์ ในหัวข้อ Online English classroom anxiety of South-East Asian English major students

ผู้ร่วมอภิปราย (Panelists) 4 ท่าน ในการประชุมทั้งสองวัน ประกอบด้วย

1. Prof. Dr. Te-Sheng Chang, Department of Education and Human Potentials Development National Dong Hwa University, Taiwan

2. Dr. Niño D. Naldoza, Director, Institute of Knowledge Management PNU, Phillippines

3. Asst. Prof. Dr. Udomluk Koolsriroj, Department of Education, Kasetsart University, Thailand

4. Assoc. Prof. Dr. TEO Tang WeeCo-Head, Multi-Centric Education, Research and Industry STEM Centre @ NIE National Institute of Education, Nanyang Technological University, Singapore

กำหนดการประชุมในวันพฤหัสบดีที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2565 สิ้นสุดด้วยพิธีปิดและมอบรางวัลการนำเสนอ (Closing Remark and Presentation Award Session) และตามด้วย Collateral AsTEN meeting for international collaborations งานประชุมวิชาการนานาชาติในรูปแบบออนไลน์ในครั้งนี้นับว่าประสบความสำเร็จเป็นอย่างยิ่งมีผู้ให้ความสนใจลงทะเบียนเข้าร่วมประชุมมากกว่า 160 คน จากประเทศไทยและทั่วโลกสำหรับการแลกเปลี่ยนทางวิชาการและการแบ่งปันประสบการณ์ร่วมกันไปสู่แนวปฏิบัติด้านการศึกษาที่ดีที่สุดในปัจจุบัน และอนาคต



ข่าวและกิจกรรม